fbpx

หน่วยงาน จดทะเบียน โบรกเกอร์


หน่วยงาน จดทะเบียน โบรกเกอร์ ทำหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุม โบรกเกอร์ Forex มีอยู่หลายหน่วยงาน หลายประเทศทั่วโลก แต่หน่วยงานที่มี ความมั่นคง เข้มงวด และ น่าเชื่อถือ ที่โบรกเกอร์ Forex นิยมใช้จดทะเบียนมีอยู่ 4 หน่วยงาน มีหน่วยงานไหนบ้างไปดูกันเลยครับ

1. FCA : United Kingdom

FCA (Financial Conduct Authority) เป็นหน่วยงานของสหราชอาณาจักร

  • ถือเป็น หน่วยงานจดทะเบียน โบรกเกอร์ ที่กำกับดูแล ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง
  • ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล บริษัท โบรกเกอร์ หน่วยงานทางการเงิน
  • FCA เป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และไม่ใช้เงินของผู้เสียภาษีอากรสำหรับการดำเนินงาน
  • FCA เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area) และ MiFID
  • สหราชอาณาจักร เป็นหนึ่งในประเทศไม่กี่แห่งที่ได้รับการยกย่องในระดับโลก ที่มีระบบการกำกับดูแลที่ดีเยี่ยม
  • เพื่อป้องกันการทุจริตทางการเงิน การหลอกลวง และการฉ้อฉลอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ค้าปลีกและผู้ค้ารายย่อย

ระเบียบเบื้องต้นของ FCA

  • โบรกเกอร์ที่ควบคุมโดย FCA ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 1 ล้านปอนด์
  • โบรกเกอร์ต้องเก็บเงินลูกค้า ไว้ในบัญชีที่แยกออกจากบัญชีของบริษัท และไม่ใช้เงินของผู้ค้าเพื่อวัตถุประสงค์อื่น
  • โบรกเกอร์ต้องจัดทำรายการตรวจสอบประจำปี และงบการเงิน เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงทั้งหมด ตามที่ให้ไว้กับ FCA
  • มีการรับประกัน เงินชดเชยสูงถึง 50,000 ปอนด์ สำหรับลูกค้าในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย
  • FCA เป็นหนึงในหน่วยงานที่มีความเข้มงวดมาก ในการตรวจสอบ ป้องกันการทุจริตของบริษัท
  • โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ FCA จึงมีความมั่นคง มีสภาพคล่องที่สูง

2. ASIS : Australia

ASIC (Australian Securities and Investments Commission) เป็นหน่วยงานของออสเตรเลีย

  • เป็นหนึ่งใน หน่วยงานจดทะเบียน โบรกเกอร์ ที่เก่าแก่ที่สุดในตลาด เริ่มต้นในปี 1989
  • เดิมใช้ชื่อว่า ASC (Australian Securities Commission)
  • เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า ASIC (Australian Securities and Investments Commission) ในปี 1998 จนถึงปัจจุบัน
  • หรือเรียกว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุน
  • ASIC ทำหน้าที่ต่อต้านการทุจริตทางการเงิน และการทุจริตในตลาดทุน

ระเบียบเบื้องต้นของ ASIC

  • โบรกเกอร์ Forex ที่จดทะเบียนกับ ASIC ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 1 ล้านเหรียญ
  • โบรกเกอร์ Forex ที่จดทะเบียนกับ ASIC ต้องแยกเก็บเงินของลูกค้าไว้ในธนาคารชั้นนำของประเทศออสเตรเลีย

ASIC ไม่จำกัด Leverage และรูปแบบการเทรดของโบรกเกอร์

  • ระเบียบของ ASIC นั้นแตกต่างจาก FIFO โดย ASIC ไม่ได้จำกัดการเทรดในรูปแบบ Hedging และ Scalping
  • โบรกเกอร์ทั้งหมดที่จดทะเบียน ASIC จำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสำหรับการซื้อขาย
  • ในการซื้อขายควรเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่มีการแทรกแซง

3. CySEC : Cyprus

CySEC (Cyprus Securities and Exchange Commission) เป็นหน่วยงานของประเทศไซปรัส

  • CySEC เข้ามาในตลาด ตั้งแต่ต้นปี 2001 โดยประเทศไซปรัสนั้น ได้เข้าร่วมสหภาพยุโรปในปี 2004
  • ต่อมารัฐธรรมนูญทั้งหมดรวมถึงกรอบการกำกับดูแลของ CySEC ได้รับการปรับปรุงใหม่ ตามหลักเกณฑ์ของสหภาพยุโรป จนเป็นไปตามมาตรฐาน EU และ MiFID
  • เพื่อการควบคุมที่เฉพาะเจาะจงเพื่อป้องกันการทุจริตทางการเงิน

ระเบียบเบื้องต้นของ CySEC

  • โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ CySEC ต้องมีเงินทุนหมุมนเวียน อย่างน้อย 750,000 ยูโร
  • โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ CySEC ต้องส่งงบการเงินประจำปีให้แก่ CySEC
  • มีการรับประกันชดเชยเงินสูงสุด 20,000 ยูโร ให้ลูกค้าในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย
  • สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ I.C.F (Investor Compensation Fund)

4. IFSC : Belize

International Financial Services Commission เป็นหน่วยงานในเบลีซ อเมริกากลาง

  • IFSC เป็นผู้รับผิดชอบในการออกใบอนุญาต ให้กับผู้ให้บริการทางด้านการเงินนานาชาติ
  • ซึ่งรวมถึงโบรกเกอร์ บริษัท นายหน้า และผู้ให้บริการทางการเงินรายอื่นๆ
  • ทำหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ให้บริการด้านการเงินที่จดทะเบียน

ระเบียบเบื้องต้นของ IFSC

  • โบรกเกอร์ Forex ที่จดทะเบียนกับ IFSC ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน เดิมทีอย่างน้อย 100,000 เหรียญ และมีการปรับเพิ่มเป็น 500,000 เหรียญ เมื่อไม่นานมานี้
  • บริษัทต้องจัดเก็บเงินทุนของลูกค้าแยกออกจากบัญชีของบริษัท
  • บริษัทต้องส่งรายงานประจำเดือน โดยประกอบด้วยรายละเอียดเช่น Volume การซื้อขาย รายงานการเงิน
  • การรับผิดชอบและจัดการกับข้อร้องเรียนของลูกค้า

โบรกเกอร์ Forex ไหน จดทะเบียน กับ หน่วยงาน ไหนบ้าง

ทาง Broker Forex Review ได้รวบรวมข้อมูลให้แล้ว เพื่อความง่าย และ สะดวก ต่อผู้อ่านที่ติดตามเว็บไซต์ของเรา ดูข้อมูลได้ที่นี่คลิ๊ก

hotforex