fbpx

ประเภท โบรกเกอร์ Forex มีอะไรบ้าง


ประเภท โบรกเกอร์ Forex มีอะไรบ้าง หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าโบรกเกอร์มีประเภทไหนบ้าง และมีความแตกต่างกันอย่างไร เรามาดูกันเลยครับ

ประเภทของโบรกเกอร์ Forex หลักๆ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. Dealing Desks (DD) เรียกอีกอย่างว่า Market Makers

2. No Dealing Desks (NDD) สามารถแบ่งย่อยเป็น

  • Straight Through Processing (STP)
  • Electronic Communication Network + Straight Through Processing (ECN+STP)
ประเภท โบรกเกอร์ Forex มีอะไรบ้าง

Dealing Desks (DD) คืออะไร

โบรกเกอร์ Forex ที่ให้บริการในรูปแบบ ของ Dealing Desks (DD) หรือเรียกอีกอย่างว่า Market makers จะเป็นลักษณะโบรกเกอร์ที่ไม่ได้นำส่งออเดอร์ของลูกค้าเข้าสู่ตลาดจริงโดยตรง แต่จะหาวิธีการเพื่อจับคู่สถานะตรงกันข้ามกับลูกค้า เช่น

  • จับคู่ออเดอร์ของลูกค้าด้วยกันเอง เช่น ลูกค้าคนหนึ่งเปิดออเดอร์ Long โบรกเกอร์จะหาลูกค้าอีกคนที่ออเดอร์ Short มาจับคู่กัน เป็นต้น
  • ถ้าโบรกเกอรไม่สามารถจับคู่สถานะของลูกค้าภายในโบรกเกอร์กันเองได้ ทางโบรกเกอร์ก็จะเปิดสถานะตรงข้ามกับลูกค้าในตลาดจริง หรือ กับโบรกเกอร์อื่น เพื่อป้องกันความเสี่ยง
  • หรือว่าโบรกเกอร์จะรับออเดอร์ของลูกค้านั้นไว้เอง โดยไม่เปิดสถานะตรงข้ามแต่อย่างใด

โดยลักษณะการจัดการออเดอร์ใน 2 แบบแรก โบรกเกอร์จะได้กำไรจากส่วนต่างของค่าธรรมเนียม Spread บนคู่เงินต่างๆที่เราเทรด แต่รูปแบบการจัดการออเดอร์แบบสุดท้าย จะเป็นลักษณะประมาณว่าโบรกเกอร์พนันว่าคนที่เข้ามาเทรดส่วนใหญ่สุดท้ายจะแพ้มากกว่าชนะ (เหมือนคาสิโน หรือเจ้ามือ ที่รับพนันกับผู้เล่นนั่นเอง)

โดยส่วนมากในวงการโบรกเกอร์ Forex จะแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น 2 แบบ คือ

1. กลุ่มลูกค้าที่สามารถทำกำไรได้

2. กลุ่มลูกค้าที่ไม่สามารถทำกำไรได้

ส่วนมากโบรกเกอร์จะรับออเดอร์ของกลุ่มลูกค้าที่ ไม่สามารถทำกำไรได้ โดยตรง เพราะทางโบรกเกอร์รู้ว่าสุดท้ายแล้ว ลูกค้ากลุ่มนี้ก็จะเทรดแพ้ และจะสูญเสียเงินจากการเทรดทั้งหมด โบรกเกอร์ก็จะได้กำไรเต็มๆ

แต่ ถ้าโบรกเกอร์เจอ กลุ่มลูกค้าที่ สามารถทำกำไรได้ โบรกเกอร์จะพยายามจับคู่ออเดอร์ตรงกันข้ามให้ หรือว่าถ้าจับคู่ไม่ได้ ก็จะเปิดสถานะตรงกันข้ามในตลาดจริงแทน เพื่อป้องกันความเสี่ยง และกินเพียงค่า Spread แทน

แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารความเสี่ยงของทางโบรกเกอร์ด้วยเช่นกัน ว่าจะเลือกใช้วิธีใด ซึ่งเราต้องไปตรวจสอบและเช็คดูอีกทีว่า โบรกเกอร์ที่เราใช้อยู่ มีนโยบายการบริหารความเสี่ยงอย่างไร

ประเภท โบรกเกอร์ Forex มีอะไรบ้าง


No Dealing Desks (NDD) คืออะไร

ถ้าแปลกันตรงๆตัวก็คือโบรกเกอร์ที่ ไม่ใช่ Dealing Desks นั่นเอง โดยโบรกเกอร์ประเภทนี้จะนำคำสั่งของลูกค้าส่งเข้าสู่ตลาดจริงโดยตรง ไม่มีการรับออเดอร์ลูกค้าไว้เอง เป็นเพียงตัวกลางที่จะคอยนำส่งคำสั่งของลูกค้าไปสู่ตลาดจริง (Interbank market) ซึ่งในตลาดจริงจะมีผู้เล่นจริง ทั้งธนาคาร, กองทุน, โบรกเกอร์, Hedge fund, เทรดเดอร์รายย่อย ที่เทรดค่าเงินกันจริงๆ 

โดยโบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desks จะทำกำไรจากการเก็บค่าธรรมเนียมคอม (Commission) จากการเทรด หรือบวกเพิ่มส่วนต่างนิดหน่อยจากค่าธรรมเนียม Spread

ประเภท โบรกเกอร์ Forex มีอะไรบ้าง
การบริหารจัดการออเดอร์ของโบรกเกอร์ Forex No Dealing Desks (NDD)

No Dealing Desks (NDD) สามารถแบ่งย่อยเป็น STP และ ECN+STP ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ละแบบเป็นอย่างไรมาดูกัน

บางโบรกเกอร์เครมตัวเองว่าเป็น True ECN Broker ซึ่งจริงๆแล้ว มันก็คือหนึ่งในกระบวนการของ Straight Through Processing system (STP)

STP ย่อจากมา Straight Through Processing system

โบรกเกอร์ Forex ที่ใช้ระบบ STP ในการจับคู่คำสั่งให้กับลูกค้า จะนำส่งคำสั่งลูกค้าตรงเข้าสู่ตลาดจริง (Interbank market) โบรกเกอร์ NDD STP มักจะมีผู้ให้บริการสภาพคล่อง (liquidity providers) จำนวนมาก โดยผู้ให้บริการสภาพคล่องแต่ละรายจะเสนอราคาของตนเอง เพื่อให้โบรกเกอร์พิจารณาเลือกส่งคำสั่งไปยังผู้ให้บริการที่เสนอราคาดีที่สุด

BIDASK
Liquidity Provider A1.19981.2001
Liquidity Provider B1.19991.2001
Liquidity Provider C1.20001.2002

ระบบ STP จะจัดเรียงลำดับราคา Bid กับ Ask ที่ดีที่สุดให้กับทางโบรกเกอร์ จากตัวอย่างข้างต้นนี้ราคา Bid ที่ดีที่สุด คือ 1.2000 (เวลา Sell หรือ Short ก็ต้องการราคาสูงถึงจะดีที่สุด) ส่วนราคา Ask ที่ดีที่สุดคือ 1.2001 (เวลา Buy หรือ Long ก็ต้องการราคาที่ต่ำที่สุด)

ดังนั้นราคา Bid / Ask ที่ดีที่สุด คือ 1.2000/1.2001

ราคานี้จะเป็ราคาที่เราจะได้เห็นบนแพลตฟอร์มซื้อขายของเราหรือไม่?

คำตอบคือ ไม่ครับ!

เพราะถ้าโบรกเกอร์เอาราคา Bid / Ask ดังกล่าวมาให้ลูกค้าเทรด โบรกเกอร์ก็จะไม่ได้กำไรอะไรเลย

โบรกเกอร์จึงทำการมาร์กอัพราคาเพิ่มทั้ง Bid และ Ask หากนโยบายของโบรกเกอร์คือมาร์กอัพเพิ่ม 1 pip (Bid ลด 1 pip , Ask เพิ่ม 1 pip) เพื่อกินกำไรส่วนต่างนี้

ดังนั้นโบรกเกอร์จะแสดงราคา Bid / Ask ให้ลูกค้าอยู่ที่ 1.1999/1.2002 บนแพลตฟอร์มเทรด

จากตัวอย่างเดิม สมมติ ลูกค้าสั่งเปิดออเดอร์ Buy EUR/USD จำนวน 1 lot (Standard : 100,000 Units) ก็ต้องซื้อฝั่ง Ask คือ 1.2002

เมื่อลูกค้าซื้อ EUR/USD ที่ 1.2002 ทางโบรกเกอร์จะยิงคำสั่งตรงไปยัง liquidity providers ที่มีแสดงราคา Ask ต่ำที่สุด ณ ตอนนั้น จากตัวอย่าง คือ liquidity providers A กับ B ณ ราคา 1.2001 (ในกรณีนี้ทางโบรกเกอร์จะเลือก liquidity providers ไหนก็ได้ เพราะ Ask ดีที่สุดเท่ากัน)

ซึ่งจะเห็นได้ว่าโบรกเกอร์จะกำไร 1 pip จากการสั่งคำสั่งของเทรดเดอร์ในครั้งนี้

ทั้งนี้ STP ก็อาจมีการ Re-quote เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะประเภทบัญชีที่เป็น Instant Execution ซึ่งถ้าโบรกเกอร์จับคู่คำสั่งไม่ทันกับทาง ผู้ให้บริการสภาพคล่อง (liquidity provider) ซึ่งปกติจะเกิดขึ้นน้อยมาก เมื่อเทียบกับโบรกเกอร์ประเภท Dealing Desks


โบรกเกอร์ส่วนมากมักจะแบ่งประเภทบัญชีตามการสั่งคำสั่งออเดอร์เป็น 2 แบบ คือ

1. Instant Execution

หมายถึงออเดอร์จะถูกดำเนินการตามราคาที่ลูกค้าส่งคำสั่ง โดยหากราคาตรงกับราคาตลาดในปัจจุบันออเดอร์นั้นก็จะเปิดทันที  แต่หากว่าราคาที่ลูกค้าขอเปิดคำสั่งซื้อนั้น ไม่ตรงกับราคาตลาดในปัจจุบัน ลูกค้าจะได้รับ Re-quote

2. Market Execution

หมายถึงออเดอร์จะถูกดำเนินการที่ราคาที่มีในตลาด ซึ่งลูกค้าจะไม่ได้รับ Requote ทั้งนี้ราคาอาจไม่ตรงตามที่ลูกค้าต้องการดังนั้นจึงอาจเกิด Slippage ซึ่งหมายถึงความต่างของราคาที่ลูกค้าส่งและราคาที่ถูกดำเนินการ

ที่มา : Exness


ECN คืออะไร?

จะคล้ายกับ DMA (Direct Market Access) STP แต่ ECN จะมีความแตกต่างคือ DMA STP โบรกเกอร์จะยิงออเดอร์ของลูกค้าไปยังพวก Liquidity providers ที่โบรกเกอร์มีอยู่ แต่บนระบบ ECN ลูกค้าสามารถส่งคำสั่งออเดอร์ของตัวเอง ไปยังผู้เล่นคนอื่นในตลาดจริงโดยตรงเลย

โดยบนระบบ ECN จะมีผู้เล่นทั้ง ธนาคาร, กองทุน, Hedge fund, รายใหญ่, รายย่อย รวมถึงโบรกเกอร์ต่างๆ ที่เทรดกันอยู่บนระบบนี้

เนื่องจากธรรมชาติของระบบ ECN มันยากมากที่จะมาร์กอัป Spread แบบตายตัว

จึงทำให้การเทรดบนระบบนี้เทรดเดอร์จะได้ค่า Spread ที่ดีมาก ได้ Bid ที่ดีที่สุด ได้ Ask ที่ดีที่สุด เพราะมันเป็นตลาดจริงที่เทรดกันอยู่

แล้วโบรกจะได้กำไรจากไหน ?

กำไรที่โบรกเกอร์จะได้ก็คือ การเก็บค่าคอมมิชชั่น (Commission) นั่นเอง

ที่สำคัญสุดของระบบ ECN คือ ไม่มีการ Re-quote ครับ


คำถามสำคัญที่สุดคือ แล้วเราควรเลือกโบรกเกอร์ประเภทไหน ?

ต้องขอบอกว่า แต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียของตัวมันเอง ไม่ได้มีดีที่สุด แต่ขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรดของเทรดเดอร์มากกว่า ถึงจะรู้ว่าประเภทไหนเหมาะกับสไตล์การเทรดแบบไหนที่สุด

บางโบรกที่มี Spread ต่ำ แต่มีค่าคอมในการเทรด ก็จะเหมาะกับเทรดเดอร์ที่เทรดลักษณะเล่นสั้น (พวก Day trade, Scalping เป็นต้น) ส่วนบางโบรกเกอร์มี Spread ที่สูงหน่อย แต่ไม่มีการเก็บค่าคอมมิชชั่น ก็อาจจะเหมาะกับเทรดเดอร์ที่เทรดระยะยาวขึ้นมาหน่อย (อย่าง Trend-following, Swing trading , Position trading เป็นต้น)

มาดูสรุปภาพรวมของประเภทโบรกเกอร์แต่ละแบบกัน

Dealing Desks , No Dealing Desks (STP) และ No Dealing Desks (ECN+STP)

Dealing DesksNo Dealing Desks (STP)No Dealing Desks (ECN+STP)
Spread คงที่ (กำหนดเอง)Spread แปรผันตามตลาด (บวกเพิ่ม เพื่อทำกำไร)Spread แปรผันตามตลาด (บวกเพิ่ม เพื่อทำกำไร)
หรือ
ไม่บวกเพิ่ม แต่เก็บค่าคอมมิชชั่นแทน
เปิดสถานะตรงกันข้ามกับลูกค้าเป็นเพียงตัวกลางให้กับลูกค้าเป็นเพียงตัวกลางให้กับลูกค้า
กำหนดราคา Bid / Ask เองราคา Bid / Ask มาจากตลาดจริง แต่โบรกเกอร์อาจบวกเพิ่มเล็กน้อยราคา Bid / Ask มาจากตลาดจริง แต่โบรกเกอร์อาจบวกเพิ่มเล็กน้อย หรือไม่บวกเพิ่มแต่เก็บค่าคอมมิชชั่นแทน
คำสั่งออเดอร์จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์ขึ้นอยู่กับลักษณะของบัญชี
Instant : เกิด Re-quote ได้
Market : ไม่มี Re-quote แต่อาจมี Slippage
ดำเนินการอัตโนมัติ
ไม่มี Re-quote
แสดงสภาพคล่องของตลาดจริง

เมื่อได้รู้แล้วว่า ประเภท โบรกเกอร์ Forex มีอะไรบ้าง ที่สำคัญคือเราจะเลือกโบรกเกอร์ประเภทไหน เพื่อให้เหมาะกับสไตล์การเทรดของเรามากที่สุดมากกว่า


อ่านบทความเกี่ยวกับโบรกเกอร์ หัวข้ออื่นๆได้ ที่นี่


Add a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *